EV Charger คืออะไร? (สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า)

EV Charger (สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า) คืออะไร?

EV Charger หรือ สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ทำหน้าที่เป็นตัวชาร์จพลังงานไฟฟ้าให้กับแบตเตอรี่รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า โดยสามารถแบ่งการชาร์จออกเป็น 2 ประเภท คือ Normal Charge และ Quick Charge

1. Normal Charge เป็นการชาร์จด้วยไฟ AC โดยชาร์จผ่าน On Board Charger ที่ยู่ภายในตัวรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งทำหน้าที่ในการแปลงไฟ AC ไปเป็นไฟ DC ขนาดของตัว On Board Charger จะขึ้นอยู่กับยี่ห้อรถยนต์ ซึ่งขนาดของ On Board Charger จะมีผลต่อระยะเวลาในการชาร์จไฟของแบตเตอรี่รถยนต์

ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์ไฟฟ้าที่มีแบตเตอรี่รถยนต์ขนาด 24 KWh และมี On Board Charger ขนาด 3KW ระยะเวลาในการชาร์จจะอยุ่ที่ 8 ชั่วโมง

2. Quick Charge จะเป็นการชาร์จโดยใช้ตู้ EV Charger (สถานีชาร์จรถไฟฟ้า) ที่แปลงไฟ AC ไปเป็นไฟ DC แล้วจ่ายไฟ DC เข้าที่แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าโดยตรง ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ในการชาร์จจะน้อยกว่าแบบ Normal Charger หัวชาร์จ (SOCKET) ของตู้ EV Charger จะมีทั้งแบบที่เป็น AC และ แบบ DC ประเภทของหัวชาร์จจะขึ้นอยู่กับมาตรฐานของผู้ผลิตรถยนต์

ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์ไฟฟ้าที่มีแบตเตอรี่รถยนต์ขนาด 24kWh โดยใช้ตู้ EV Charger แบบ Quick Charge ที่มีกำลังชาร์จอยู่ที่ 50kW ระยะเวลาในการชาร์จจะอยู่ที่ไม่เกิน 1/2 ชั่วโมง

การเลือกติดตั้ง EV Charger ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

การติดตั้งอุปกรณ์ EV Charger ตามสถานที่ต่างๆ จะเลือกตามความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการชาร์จ ยกตัวอย่างเช่น บ้านพัก ควรติดตั้ง EV Charger แบบ AC ก็เพียงพอ ถึงจะใช้เวลาในการชาร์จนาน แต่เวลาที่เราใช้ภายในบ้านก็ค่อยข้างนานเช่นกัน หรือ ถ้าต้องการตั้งเป็นสถานี EV Charger ที่ต้องการความเร็วในการชาร์จ ก็สามารถเลือกเป็นการชาร์จแบบ DC ซึ่งมีระดับการชาร์จถึง 3 ระดับ คือ DC Wallbox , DC terra 54 และ DC Terra 360 ระยะเวลาที่ใช้ในการชาร์จจะน้อยลงตามลำดับ

Download AC Wallbox Spec

Download DC Wallbox Spec

ประเภทของหัวชาร์จ

ในการเลือกซื้อ EV Charger บางรุ่น ผู้ซื้อต้องระบุ ประเภทของหัวจ่ายด้วย ซึ่งประเภทของหัวจ่ายนั้นขึ้นอยู่กับยี่ห้อ และรุ่นของรถ EV ว่ารองรับมาตรฐานหัวชาร์จแบบไหน จากรูปจะเห็นมาตรฐานหัวชาร์จหลักๆในท้องตลาดโซนยุโรป(ณ ปี 2018) จะมีอยู่ 3 แบบหลักๆ คือ AC(Type1/Type2), DC Chademo และ DC CCS

ABB EV Charger รุ่น Terra DC Charging station 53 มีหัวจ่ายหลักๆให้เลือก 3 แบบ คือ AC Type2, DC Chademo และ DC CCS

สำหรับ EV Charger รุ่น EVLunic AC Wallbox นั้นจะมีให้เลือก แบบ Type2 AC Socket หรือแบบที่มีสายพร้อมหัวจ่าย Type2

หากอ่านแล้วยังเกิดข้อสงสัยสามารถตามไปดู Video Youtube เกี่ยวกับ EV Charger ได้ตามลิ้งข้างล่าง


หรือสนใจสินค้าสามารถติดต่อเราได้ ที่นี่ !!CLICK!!

เบรกเกอร์ (Circuit Breaker) คืออะไร ประเภทต่างๆของเบรกเกอร์



Circuit Breaker(เบรกเกอร์)คืออะไร

เบรกเกอร์เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่ในการตัดวงจรไฟฟ้าแบบอัตโนมัติเมื่อเกิดความผิดปกติในระบบ เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับสายไฟ โหลด Load (เช่น มอเตอร์, Generator หรือ อุปกรณ์ไฟฟ้า)

1 เบรกเกอร์สามารถแบ่งตามขนาดเป็น 3 ประเภท

1.1 MCB : Miniature Circuit Breaker (เบรกเกอร์ลูกย่อย) มีค่ากระแสน้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 A ส่วนใหญ่ใช้ภายในบ้านพักอาศัย ติดตั้งภายในตู้ Consumer หรือ ตู้ Load Center

1.2 MCCB : Moulded Case Circuit Breaker(โมลเคสเซอร์กิตเบรกเกอร์) มีค่ากระแสน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1600 A

1.3 ACB : Air Circuit Breaker(แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์) มีค่ากระแสน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6300 A

Breaker Category By Size
รูปที่ 1 : ประเภทของเบรกเกอร์ทั้ง 3 ประเภทตามขนาด
Continue reading “เบรกเกอร์ (Circuit Breaker) คืออะไร ประเภทต่างๆของเบรกเกอร์”

วงจรกันดูด เดินสายไฟ/ติดตั้งกันดูด 1 เฟส Wiring Diagram RCD(RCCB,RCBO)

บทความนี้เป็นตัวอย่างของการติดตั้งกันดูด สำหรับไฟ 1 เฟส โดยมีทั้งหมด 3 วงจรหลักๆ แต่ละวงจรมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งาน

1 วงจรการต่อแบบมีเซอร์กิตเบรกเกอร์และอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูด ทำหน้าที่เป็นเมนสำหรับไฟ 1 เฟส (MCB + RCCB)

MCB RCCB Wiring Diagram วงจรกันดูด การเดินสายกันดูด 1 เฟส

ข้อดี

– ราคาถูกเนื่องจาก กันดูด(RCCB) 1 ตัว สามารถป้องกันไฟรั่วไฟดูดได้ทั้งบ้าน
– ลดความยุ่งยากในการแยกสายนิวตรอลภายในบ้าน
– เหมาะกับบ้านเก่าที่สายนิวตรอลต่อรวมกันหมด
– ง่ายในการเพิ่มกันดูด โดยต่อหลังจากเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์ Continue reading “วงจรกันดูด เดินสายไฟ/ติดตั้งกันดูด 1 เฟส Wiring Diagram RCD(RCCB,RCBO)”

การเลือกขนาดเบรกเกอร์

ตารางการเลือกขนาดเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์ สำหรับมิเตอร์ขนาดต่างๆ

ตารางการเลือกเมนเซอร์กิตสำหรับมิเตอร์ขนาดต่างๆ
ตารางการเลือกขนาดเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับมิเตอร์ขนาดต่างๆ

ตารางแนะนำ การเลือกขนาดเซอร์กิตเบรกเกอร์ สำหรับเครื่องปรับอากาศ และเครื่องทำน้ำอุ่น

ตารางแนะนำการเลือกเซอร์กิตเบรกเกอร์ สำหรับเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำน้ำอุ่น
ตารางแนะนำการเลือกขนาดเซอร์กิตเบรกเกอร์ สำหรับเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำน้ำอุ่น

ตารางแนะนำ การเลือกขนาดเซอร์กิตเบรกเกอร์ย่อย เพื่อใช้ควบคุม วงจรแสงสว่าง และ วงจรเต้ารับ

การเลือกขนาดเบรกเกอร์ ตารางแนะนำการเลือกขนาดเซอร์กิตเบรกเกอร์ย่อยเพื่อใช้ควบคุม วงจรแสงสว่าง และ วงจรเต้ารับ
ตารางแนะนำการเลือกขนาดเซอร์กิตเบรกเกอร์ย่อยเพื่อใช้ควบคุม วงจรแสงสว่าง และ วงจรเต้ารับ