แมกเนติกคอนแทคเตอร์คืออะไร? Magnetic Contactor (PMK Talk x ABB)
1. แมกเนติกคอนแทคเตอร์ มีหน้าที่ในการตัดต่อวงจรไฟฟ้า ซึ่งสามารถสั่งการทำงานด้วยการจ่ายแรงดันไปที่ชุดสนามแม่เหล็กเพื่อตัดต่อวงจร โดยมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน คือ
1.1 ชุดสร้างสนามแม่เหล็ก ที่ประกอบด้วย แกนเหล็กและขดลวด เป็นส่วนสั่งงานให้แมกเนติกทำงาน(ตัดหรือต่อวงจร)
1.2 ชุดหน้าสัมผัสหรือหน้าทองขาวทำหน้าที่ส่งผ่านกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไปยังโหลด (Load)
2. การเลือกแมกเนติกคอนแทคเตอร์ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
2.1 พิจารณาจากแรงดัน(V) มีแรงดัน 2 ส่วน
2.1.1 แรงดันใช้งาน คือแรงดันส่วนหน้าสัมผัส จากคอนแทคเตอร์ไปโหลด (แรงดันมาตรฐานที่ใช้ในไทย380-415V)
2.1.2 แรงดันไฟเลี้ยง หรือแรงดันคอยล์(Voltage Coil) เป็นแรงดันที่ส่งไปที่ขดลวดให้คอนแทคเตอร์ทำงาน
2.2 พิจารณาจากกระแส(I)ใช้งาน กระแส(I)ใช้งานตามประเภทของโหลด โดยทั่วไปจะเป็น AC-1,AC-3
ลักษณะกระแสของโหลดแต่ละชนิดจะอ้างอิงจาก IEC 60947-4-1 (จากรูปที่ 1) สามารถแบ่งได้หลายประเภท โดยโหลดทั่วไปคือ AC-1 และ AC-3
2.2.1 AC-1ใช้กับ Non-Inductive Load เช่น Heater
2.2.1 AC-3ใช้กับโหลดที่เป็นมอเตอร์
3. วิธีการอ่านรหัสรุ่น AF(ยกตัวอย่างรุ่น AF09-30-10-13)
3.1 AF คือ รุ่นที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์คอยล์
3.2 09 คือ ขนาดกระแสของหน้าคอนแทคหรือหน้าทองขาว
3.3 30 คือ เมนคอนแทค
30 = 3NO,0NC
3.4 10 คือ คอนแทคช่วย Auxiliary Contact
10 = 1 NO, 0 NC
01 = 0 NO, 1 NC
11 = 1 NO, 1 NC
3.5 13 คือ ไฟเลี้ยง(Operating Coil) สามารถจ่ายไฟเลี้ยงได้ (100-250VAC/DC) เป็นรุ่นที่มีสต็อค ส่วนรุ่นอื่นจะเป็นรุ่นสั่งนอก
11 = 24-60 VAC/20-60 VDC
12 = 48-130 VAC/DC
13 = 100-250 VAC/DC
14 = 250-500 VAC/DC
4. คุณสมบัติของแมกเนติกคอนแทคเตอร์ ABB รุ่น AF
4.1 เป็นคอนแทคเตอร์แบบอิเล็คทรอนิกส์คอยล์(Electronic Coil)ทำให้รับไฟเลี้ยงได้ทั้ง AC และDC ย่านแรงดันกว้าง 100-250 VAC/VDC
4.2 มี Surge Suppressor ในตัวป้องกันระบบคอนโทรลไม่ให้เสียหายที่เกิดจากพลังงานสะสมไหลย้อนกลับ
4.3 มีขนาดเล็กลง เมื่อเทียบกับคอนแทคเตอร์รุ่นเก่าทำให้ประหยัดพื้นที่ในตู้
4.4 ประหยัดไฟมากขึ้น เพราะใช้หม้อแปลงขนาดเล็กลงทำให้กินไฟน้อยลง
5.ความแตกต่างของแมกเนติกคอนแทคเตอร์รุ่น AF และ UA
แมกเนติกคอนแทคเตอร์ของ ABB รุ่น UA ผลิตมาเพื่อการใช้งานสำหรับการตัดต่อวงจร Capacitor Bank โดยเฉพาะ ซึ่งมีชุดหน้าสัมผัส(หน้าทองขาว) ผลิตด้วยวัสดุชนิดพิเศษ ที่รองรับกระแสในช่วงการตัดต่อของวงจร Capacitor Bank ที่มีกระแสสูงถึง 100 เท่า แต่รุ่น UA ซึ่งผลิตมาเพื่อใช้กับโหลดประเภท AC-1 กับ AC-3 ซึ่งมีกระแสสูงสุดที่ 6 เท่า เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรใช้คอนแทคเตอร์รุ่น AF แทนรุ่น UA สำหรับการตัดต่อวงจร Capacitor Bank ยกเว้นกับวงจร Capacitor Bank ขนาดใหญ่ที่มากกว่า 70KVAR