เบรกเกอร์กันดูด คืออะไร ?(RCD, RCBO, RCCB)

เบรกเกอร์กันดูด คือ (RCD : Residual – Current Device)

หน้าที่หลักของเบรกเกอร์กันดูด(RCD) คือ ป้องกันกระแสไฟรั่ว เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายจากไฟรั่ว(ไฟดูด) กับผู้ใช้งาน
หลักการทำงานของเบรกเกอร์กันดูด (RCD) คือ วัดกระแสไฟเข้าและออกว่าเท่ากันหรือไม่ หากไม่เท่ากัน ตามที่กำหนดไว้ในเสปคของอุปกรณ์ เบรกเกอร์กันดูด(RCD) ก็จะทำการตัดวงจร

ยกตัวอย่าง เช่น กันดูดรุ่น FH202-AC25/0.03 จากสเปคในรูป 1 ก็จะดูว่าไฟเข้าออกว่าต่างกันเกิน 30mA หรือไม่ ห่างต่างกันเกิน 30 mA ก็จะตัดวงจร (ดาว์นโหลดสเปค รุ่น fh200)

รูปที่ 1 สเปคเบรกเกอร์กันดูด RCCB รุ่น FH202-AC25/0.03

เบรกเกอร์กันดูด (RCD : Residual – Current Device) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

รูปทีี่ 2 RCB แบ่งเป็น RCCB และ RCBO
  • เบรกเกอร์กันดูด RCCB (Residual Current Circuit Breaker) ทำหน้าที่ ป้องกันไฟรั่ว ไฟดูด มีการรับรองมาตรฐานจาก มอก. 2452-2552 กับ IEC 61008 ซึ่ง หลักการทำงานของ RCCB ยี่ห้อ ABB ส่วนใหญ่จะมีหลักการทำงานแบบ VI
  • เบรกเกอร์กันดูด RCBO (Residual Current Circuit Breaker with Over Current Protection) ทำหน้าที่ ป้องกันไฟรั่ว ไฟดูด ป้องกันกระแสเกิน(Overload) และกระแสลัดวงจร(Short circuit) มีการรับรองมาตรฐานจาก มอก. 909-2548 กับ IEC 61009 ซึ่ง RCBO ของABB ส่วนใหญ่จะมีหลักการทำงานแบบ VD

หลักการทำงานแบบ Voltage Independent (VI) และ Voltage Dependent (VD)

  • Voltage Independent (VI) มีหลักการทำงานที่ไม่ขึ้นอยู่กับVoltage หรือ คือ ไม่ต้องมีไฟเลี้ยงวงจรก็ยังสามารถใช้งานได้
  • Voltage Dependent (VD) มีหลักการทำงานโดยใช้กระแสไฟ คือ จะต้องมีไฟเลี้ยงวงจรอุปกรณ์จึงจะทำงาน

ข้อควรระวังของ VI และ VD คือ กรณีที่สายนิวตรอลเกิดหลุด หรือขาด เบรกเกอร์กันดูดแบบ RCCB ที่มีหลักการทำงานแบบ VI จะยังสามารถทำหน้าที่ตัดวงจรได้ตามเดิม ส่วน เบรกเกอร์กันดูดแบบ RCBO ที่ทำงานแบบ VD นั้น กรณีที่สายนิวตรอลเกิดหลุด หรือขาด เบรกเกอร์กันดูดแบบ RCBO จะไม่สามารถทำงานได้

รูปที่ 3 ความแตกต่างระหว่าง RCCB กับ RCBO

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

Q1.ทำไมเบรกเกอร์กันดูดรุ่นมาตรฐานของ ABB จึงตัดวงจรเมื่อเกิดไฟรั้ว ที่ 30mA?

ตอบ การตัดวงจรเมื่อเกิดไฟรั่วที่ 30mA นั้นเพียงพอต่อการป้องกันชีวิตคน ซึ่งอ้างอิงตามมาตรฐานของ IEC
ยกตัวอย่าง IEC แบ่งออกเป็น 4 โซน คือ

  • โซนที่ 1 โดนดูดไม่รู้สึก
  • โซนที่ 2 โดนดูดรู้สึกแต่ไม่อันตราย
  • โซนที่ 3 กล้ามเนื้อเกร็ง หายใจติดขัด
  • โซนที่ 4 หัวใจล้มเหลว

เบรกเกอร์กันดูดของ ABB ตัดวงจรเมื่อเกิดไฟรั่ว 30 mA ภายในเวลา 20-30 mS ซึ่งตามข้อกำหนดตามตารางของ IEC ในช่วงเวลา 20-30mS จะเกิดไฟรั่วที่ 30mA หรือ 150 mA จะยังปรากฎอยู่ในโซนที่ 2 ของตาราง ซึ่งยังเป็นโซนที่มีความปลอดภัยในการใช้งาน

รูปที่ 4 การตัดวงจรของ RCD มาตรฐานที่ 30mA

Q2. ABB มีเบรกเกอร์กันดูดที่มีการตัดไฟรั่ว ต่ำกว่า 30 mA ไหม ?

ตอบ มี แต่การตัดไฟจะsensitiveกว่า หากเกิดไฟรั่วเพียงเล็กน้อยก็จะทำให้เบรกเกอร์ทริป อาจจะทำให้ผู้ใช้งานเกิดความรำคาญเนื่องจากเบรกเกอร์กันดูดจะทริปบ่อย ซึ่งเบรกเกอร์กันดูดที่มีค่าการตัดวงจรต่ำกว่า 30mA ส่วนใหญ่จะใช้ใน โรงพยาบาล สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือ สถานรับเลี้ยงคนชรา ซึ่งผู้ซื้อสามารถสั่งสินค้ากับตัวแทนจำหน่ายได้ แต่อาจจะต้องรอเวลาในการนำเข้าสินค้า

Q3.สามารถใช้เบรกเกอร์กันดูด RCBO แบบ 2 โพล รุ่น DS201 เป็นเมนเบรกเกอร์ แทนการใช้เมนเบรกเกอร์ 2โพลร่วมกับเบรกเกอร์กันดูด RCCB ได้หรือไม่?

ตอบ เบรกเกอร์กันดูด RCBO แบบ 2 โพล นั้นไม่สามารถใช้แทนเมนเบรกเกอร์ MCB แบบ 2 โพลที่ต่อร่วมกับเบรกเกอร์กันดูด RCCB ดูจากมาตรฐานการติดตั้ง ดังต่อไปนี้ ตามข้อกำหนดกล่าวว่า

  • เบรกเกอร์เมนหลังมิเตอร์จะต้องเป็น 2โพล คือ เบรกเกอร์เมนจะต้องมีการป้องกันกระแสไฟเกิน และกระแสไฟลัดวงจรทั้ง 2 โพล
  • ค่าการทนกระแสการลัดวงจร ต้องเท่ากับ 10 KA

เมื่อมาดูรายละเอียดของเบรกเกอร์กันดูด RCBO แบบ 2 โพล จะเห็นได้ว่าเป็นแบบ 1P+N ซึ่งจะมีการป้องกันกระแสไฟเกิน และกระแสไฟลัดวงจร เพียงแค่โพลเดียว ส่วนอีกโพลจะเป็นแค่เพียงสาย disconnector และค่าการทนกระแสลัดวงจรของกันดูด RCBO จะเท่ากับ 6 KA เท่านั้น จึงไม่เหมาะที่จะนำมาเป็นเมนเบรกเกอร์

ข้อเสนอแนะ หากต้องการติดตั้งเมนกันดูดคุมทั้งบ้านให้ใช้เบรกเกอร์เมน แบบ 2 โพล ขนาด 10 KA กับเบรกเกอร์กันดูด RCCB แบบ 2โพล ตามรูปที่ 5

  • ข้อเสีย ใช้พื้นที่ในการติดตั้งเยอะ
  • ข้อดี ทำให้แยกสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นได้ เช่น หากเกิดกระแสลัดวงจร หรือโหลดเกินก็จะทริปเฉพาะเบรกเกอร์เมน แต่ถ้าเกิดไฟรั่ว ก็จะทริปแค่เบรกเกอร์กันดูดเท่านั้น เป็นต้น
รูปที่ 5 การต่อเบรกเกอร์กันดูด RCCB แบบคลุมทั้งบ้าน

หากอ่านแล้วยังเกิดข้อสงสัยสามารถตามไปดู Video Youtube เกี่ยวกับ เบรกเกอร์กันดูด RCD ได้ตามลิ้งข้างล่าง


LINK >> การต่อเบรกเกอร์กันดูด 1 เฟสในตู้คอมซูมเมอร์